zwani.com myspace graphic comments

My Profile

รูปภาพของฉัน
Miss Sirinya Jaithong Student ID.5411201691 No.6 early childhood education.

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนวันที่ 12 ธันวาคม 2556

เนื้อหาที่เรียน
     1. พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
       - พัฒนาการ  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะส่วนต่าง ๆ รวมทั้งตัวบุคคล
       - ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     2.  เด็กที่บกพร่องทางพัฒนาการ
       - หยุดอยู่กับที่
       - ถดถอยลง
       - เด็กที่ีมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกันอาจช้าด้านเดียวหรือหลายด้าน
       - ถ้าด้านเดียวจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่นด้วย  เช่น  สติปัญญาไม่ดีก็พูดไม่ได้
      3.  ปัจจัยที่ส่งผลทำให้พัฒนาการล่าช้า
       - ด้านชีวภาพ -----> เช่น  ยีน  โครโมโซม
       - สภาพแวดล้อมก่อนคลอด -------->  ขึ้นอยู๋กับการดูแลของแม่
       - กระบวนการคลอด
       - สภาพแวดล้อมหลังคลอด---------->  การดูแลเด็ก
      4.  สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
       ( 4.1 ) โรคทางพันธุกรรม  คือ  เป็นตั้งแต่เกิด  มักมีความผิดปกติร่วมด้วย  เช่น  โรคผิวเผือก  โรคเท้าแสนปม  
        ( 4.2 )  โรคของระบบประสาท  อาการที่พบบ่อย คือ  การชัก
        ( 4.3 )  การติดเชื้อ  มีการติดเชื้อในครรภฺ์  น้ำหนักแรกเกิดน้อย  ศีรษะเล็ก  ตับโต  ม้ามโต  หูหนวก  ต้อกระจก  หลังติดเชื้อทำให้เด็กสมองอักเสบ
        ( 4.4 )  ความผิดปกติเกี่ยวกับเมทาบอลิซึม  เช่น  ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
        ( 4.5 )  ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด  ที่อันตรายมาก  คือ  ภาวะการขาดออกซิเจนในระหว่างคลอด  เช่น รกผันคอเด็ก
        ( 4.6 )  สารเคมี  
               -สารตะกั่ว ส่งผลให้เด็กมีอาการซึมเศร้า  ผิวคล้ำ  ตับเป็นพิษ  
               -แอลกฮอล์ ส่งผลให้เด็กน้ำหนักน้อยมาก  ศีรษะเล็ก  ปัญญาบกพร่อง  บกพร่องทางอารมณ์  เรียกว่า  Fetal Alcohol Syndrom (FAS) ไม่มีริมฝีปาก  หนังคลุมตาตามาก  จมูกแบน
               -นิโคติน  เด็กน้ำหนักน้อยมากเพราะขาดสารอาหาร  เวลาสูบบุหรี่หลอดเลือดจะตีบทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไปเต็มที่  ทำให้สติปัญญาอ่อน  เพิ่มอัตราการตาย  สมาธิสั้ัน  ก้าวร้าว  มีปัญหาในการเข้าสังคม
          ( 4.7 )  การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมทำให้ขาดสารอาหาร
          5.  อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
               - พัฒนาการล่าช้าพบมากว่า 1 ด้าน
               - ปฏิกิริยาย้อนกลับ  ไม่หายแม้ถึงช่วงอายุควรจะหายก็ไม่หาย  เช่น แย้นิ้วแล้วเด็กยังกำอยู่
          6.  แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
            ( 6.1 )  การซักประวัติ  เช่น  โรคางพนธุกรรม  ประวัติการคลอด  การเจ็บป่วยของคนในครอบครัว   เมื่อซักประวัติเสร็จแล้วบอกได้ว่า
                       - ลักษณะพัฒนาการคงที่  /  ถดถอย
                       - พัฒนาการล่าช้าด้านไหน  ระดับไหน
                       - สาเหตุที่เดกพัฒนาการช้าเกิดจากอะไร
                       - บ่งชี้มาจากยีนหรือไม่
                       - ได้รับการฟื้นฟูและช่วยเหลืออย่างไร
              ( 6.2 )  ตรวจร่างกาย  เช่น  ตับโต  ม้ามโต  รอบศีรษะ  ระบบประสาท  การมองเห็น การฟัง  ดูแลลักษณะเด็กที่ถูกทารุณ
               ( 6.3 )  การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ  การสแกนสมอง
               ( 6.4 )  ประเมินพัฒนาการ  
                       - ไม่เป็นทางการ  เช่น  สอบถามพ่อแม่
                       - การประเมินในเวชปฏิบัติ  เช่น  แบบทดสอบ  Denver  II , Gesell Drawing , แบบประเมินของสถาบันราชานูกูล 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น