zwani.com myspace graphic comments

My Profile

รูปภาพของฉัน
Miss Sirinya Jaithong Student ID.5411201691 No.6 early childhood education.

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนวันที่ 28 พฤศจิกายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
     2.2.6  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์  ( Children With Behaviorally And Emotional Disorders )  หมายถึง  เด็กที่มีกล้มเนื้อบอพร่องด้วย  ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ปกตินาน ๆ ไม่ได้  ทำตามกฏเกณฑ์ไม่ได้เลย  อารมณ์รุนแรง  ก้าวร้าว  แบ่งได้ 2 ประเภท
        - เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์  ทำให้เด็กก้าวร้าวมาก
        - เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้  ทำให้เกิดความวิตกังวล  หนีสังคม  ก้าวร้าว  
     ( 1 )  การจัดเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงองค์ระกอบ ดังนี้
        - สภาพแวดล้อม
        - ความคิดเห็นของเด็กแต่ละคน
     ( 2 )  ผลกระทบ
        - ไม่สามารถเรียนกับเด็กปกติ
        - มักอยู่คนเดียว
        - เก็บกดเข้ากับคนอื่นไม่ได้  
        - บ่นปวดตามร่างกาย
        - มีความหวาดกลัว
      ( 3 )  เด็กที่บกร่องทางพฤติกรรมรุนแรงมาก
        - เด็กสมาธิสั้ัน  ( Children  with  Attention Deficit and Hyperactivity Disorders ) 
        - เด็กออทิสติก  ( Autistic )
      ( 4 )  ลักษณะเด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรม
        - ฉี่ราด                             -เรียกร้องความสนใจ
        -ติดขวดนม/ของใช้        -อ่อนไหว
        -ดูดนิ้ว/กัดเล็บ                -อิจฉา ก้าวร้าว
        -หนีสังคม                        -ฝันกลางวัน
        -พูดเพ้อเจ้อ
     2.2.7  เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้  ( Children With Learning Disorders )  คือ เด็กที่มีเชาว์ปัญญาปกติหรือเรียกอีกอย่างว่า เด็ก L.D มักมีปัญหาในการเรียนรู้บางอย่าง  เช่น การพูด การอ่าน การเขียน  การฟัง การสะกดคำ การคำนวณ ไม่รวมเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย  เด็กพิการ
      ( 1 ) ลักษณะอาการ
         -มีปัญหาทักษะคณิตศาสตร์
         -ปฏิบัติตวามคำสั่งไม่ได้
         -เรียงลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
         -ซุ่มซ่าม 
         -เอาแต่ใจตัวเอง
     2.2.8  เด็กออสติก  ( Autistic )  หมายถึง  เด็กที่ำมีพัฒนาการล่าช้าเริ่มแรกเกิด -3 ขวบ  บกพร่องพฤติกรรมด้วย
        -เด็กที่บกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อสาร
        -เด็กแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
       -มีความบกพร่องางสิตปัญญานิด ๆ แต่มีเชาว์ปัญญาปกติ
       -มีความอัจริยะ
       -มีทักษะทางสัังคมน้อย
       -มีทักษะทางภาษาน้อย
      -ทักษะทางการเคลื่อนไหวและทักษะเกี่ยวกับรูปทรงมีค่อนข้างน้อย
     ( 1 ) ลักษณะอาการ
      -อยู่กับตัวเอง                                                     -ไม่ยอมพูด
     -ไม่เข้าหาคนอื่นเพื่อให้ปลอบ                          -ยึดติดกับวัตถุ
     -ไม่เล่นกับกลุ่มเพื่อน                                        -เหมือนหูหนวก เรยกแล้วไม่หัน
     -ต่อต้าน  แสดงอารมณ์อย่างไร้เหตุผล           -จองอะไรนาน ๆ
     2.2.9  เด็กพิการซ้ำซ้อน  ( Children  With  Multiple Handicaps )  หมายถึง  เด็กที่มีความบกพร่องมากกว่า 1 อย่าง  เป็นเหตุให้มีปัญหาในการเรียนรู้  เช่น  ปญญาอ่อนร่วมหูหนวก  หูหนวกร่วมตาบอด

งานที่ได้รับมอบหมาย
     อาจารย์ให้ดูวิดีโอ  แล้วสรุปเป็นองค์ความรู้

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
     2.2.4  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ ( Children With Physical And Hearth Impairment )  หมายถึง  เด็กที่อวัยวะไม่สมส่วน  หรือ  หายไป  มีปัญหาระบบประสาททำให้เคลื่อนไหวลำบาก   แบ่งได้ 2 ประเภท  ดังนี้
     ( 1 )  บกพร่ิองทางร่างกาย  
      1.1  เด็ก  C.P   คือ  เด็กที่บกพร่องที่สมอง  เกิดจากสมองอัตพาตเดิกในช่วงที่อยู่ในครรภ์  การเคลื่อนไหวช้า  การพูดช้า
      1.2 อาการ
        - อัมพาตเกร็งของขา
        - อัมพาตการเคลื่อนไหว
        - อัมพาตการทรงตัว
        - อัมพาตการแข็งตัว
        - อัมาตแบบผสม
      1.2  กล้ามเนื้ออ่อนแรง  เกิดจากสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อเสื่อมสลายทำให้กล้ามเนื้อส่วนนั้ันลีบ  อาจมีความพิการซ้ำซ้อน  ความจำแย่ลง
      1.3  โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ  เกิดจากการติดเชื้อ  เช่น  เท้าปุก  และ  Spina  Bifida
      1.4  โปริโอ  คือ  อาการกล้ามเนื้อลีบส่วนมากเกิดที่ขาไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา  เกิดจากเชื้อไวรัส  น้ำไม่สะอาด
      1.5  แขน  ขา  ด้วนแต่กำเนิด  
      1.6  โรคกระดูกอ่อน
     ( 2 )  บกพร่องทางสุขภาพ  เป็นลักษณะอาการที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง  มีดังนี้
      2.1  ลมบ้าหมู  ชักเสร็จจะหมดสติและหมดความรู้สึก  ควรให้เด็กกัดผ้า
      2.2  ชักสั้น ๆ  ระยะในการชักประมาณ  5 -10  วินาที
      2.3  ชักแบบรุนแรง  กล้ามเนื้อเก็รง 2 - 5 นาที  เมื่อหยุุดชักจะหมดสติ
      2.4  ชักแบบไม่รู้ตัว  เช่น  การร้องเพลง  ดึงเสื้อผ้า  เดินเมอ
      2.5  ชักแบบ  Partial Complex  คือ การเดินไปชักไป  กัดริมฝีปาก  ถูตามแขนขา
      2.5  โรคทางระบบทางเดินอาหาร
     ( 3 )  ลักษณะอาการ
      - มีปัญหาในการทรงตัว                 - ท่าเดินคล้ายกรรไกร
      - ไอเสียงแห้ง                                - มักเจ็บหน้าอก  บ่นปวดหัว
      - หน้าแดงง่าย                               - กระหายน้ำ
     2.2.5  เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด  ( Children With Speak And Language Disorder )  หมายถึงเด็กที่พูดไม่ชัด  ออกเสียงเพี้ยน  หารใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นดั่งตั้งใจ  มีท่าทางผิดปกติขณะพูด
      ( 1 )  ประเภทของอาการ
      1.1  ความผิดปกติด้านการออกเสียง
      1.2  ความผิดปกติด้านจังหวะ  เช่น  พูดรัว  พูดติดอ่าง
      1.3  ความผิดปกติด้านเสียง  เช่น  ระดับเสียง  คุณภาพของเสียง
      1.4  ความผิดปกติทางการพูดเพราะพยาธิที่สมอง  Aphasia
          - Motor  Aphasia  คือ  อาการสั่งได้  เข้าใจ  แต่พูดกลับไม่ได้
          - Wernick 's Aphasia  คือ  ไม่เข้าใจคำถาม  ออกเสียงติดขัด  มักใช้คำพูดผิด ๆ
          - Conduction  คือ  ออกเสียงติดขัด  บอกชื่อสิ่งของไม่ได้  มักเกิดร่วมกับอัมพาตสมองซีกขวา
          - Nominal  คือ  เข้าใจ  พูดตามได้แต่บอกชื่อสิ่งของไม่ได้  มักเกิดร่วมกับ  Gerstman 's Syndrom
          - Global  คือ ไม่เข้าใจภาษาที่พูด  เช่น  พูดไม่ได้เลย
          - Sensory  คือ เขียนเองไม่ได้  บอกชื่อสิ่งของไม่ได้แต่เขียนตามแบบได้
          - Motor  คือ  ลอก  เขียน  ไม่ได้เลย  เชียนตามคำบอกไม่ได้
          - Cortical  คือ  อ่านไม่ออกเพราะไม่เข้าใจภาษา
          - Motor Alexia  คือ  เห็นตัวหนังสือ  เข้าใจแต่อ่านไ่ม่ได้
          - Gerstman's  Syndrom  ไม่รู้ชื่อนิ้ว  ไม่รู้จักซ้ายขวา  คำนวณไม่ได้  เขียน อ่าน ไม่ได้
          -Visual Agnosia  คือ  เห็นวัตถุแต่บอกไม่ได้ว่าคืออะไร
          - Auditory  Agnosia  คือ  ไม่บอพร่องการได้ยินแต่ไม่สามารถแปลความหมายได้  ได้ยินแต่ไม่เข้าใจ
      ( 2 ) ลักษณะอาการ
      - ทารกจะร้องไห้เบา ๆ                    - ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
      - ไม่อ้อแอ้ภายใน 10 เดือน            - หลัง 5 ขวบ  ใช้ประโยคไม่สมบูร์
      - ไม่พูดภายใน 2 เืดือน                   - พูดกระตุกกระตัก
      - หลัง 3 ขวบ  ภาษาพูดเข้าใจยาก -  ใช้ภาษาท่าทางสื่อความหมาย

งานที่ได้รับมอบหมาย
     อาจารย์ให้ดูวีดิโอ  แล้วสรุปสิ่งที่ได้จากวีดิโอ
      

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน วันที่ 14 พฤศจิกายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
     1.ความหมายของเด็กพิเศษ
-ทางการแพทย์จะเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า  "เด็กพิการ"   เด็กที่มีความบกพร่อง  สุญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา  ร่างกายหรืิิอจิตใจ
-ทางการศึกษา  เด็กที่ต้องรับโอกาสในการศึกษาเฉพาะแต่ละบุคคลเพราะอาการของเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
     สรุปความหมายของเด็กพิเศษ
-เด็กที่ไม่สามารถพัฒนาตนเองได้เท่าที่ควรจากการสอนปกติ
-มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางสติปัญญาและอารมณ์
-จำเ็ป็นต้องได้รับการกระตุ้น  ฟื้นฟู  และบำบัด
-จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล
     
     2.ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งออกได้ 2 กลุ่ม  ดังนี้
2.1  กลุ่มที่มีความสามรถพิเศษสูง  ----->  เด็กกลุ่มนีเรียกว่า "ปัญญาเลิศ"  ซึ่งมี  IQ สูงถึง 120
2.2  กลุ่มที่มีความบกพร่อง  -----> กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้มี  10 อย่าง
      2.2.1 เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ( Children With Intellectual Disabilities )   คือ  เด็กที่มีสติปัญญาต่ำ  แบ่งเป็น 2 กลุ่ม  ดังนี้
      (1) เด็กเรียนช้า  
         -สามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติได้
         -มี IQ อยู่ระหว่าง  71 - 90
         -สามารถพัฒนาพัฒนาการได้
         -สาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก คือ สภาวะด้านการเงิน  ครอบครัว  สภาพแวดล้อม  การเสริมสร้างประสบการณ์  วิธีการสอน  ซึ่งคือสาเหตุสำคัญ  และปัจจัยภายใน คือ  พัฒนาการของเด็ก
     (2) เด็กปัญญาอ่อน  คือ เด็กที่มีพัฒนาการหยุะงัก  สติปัญาต่ำ  ความสามารถเรียนรู้น้อย  พัฒนาการล่าช้า  การจำกัดทางด้านทักษะ  ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 4 กลุ่ม  ดังนี้
      -ปัญญาอ่อนหนักมาก -----> มี IQ น้อยกว่า  20  ต้ิองอยู่ในการดูแลของสถานที่ดูและเด็กพิการ
     -ปัญญาอ่อนหนัก------> มี  IQ 20 - 34  สามารถช่วยเหลือตนเองได้ง่าย ๆ
     -ปัญญาอ่อนกลาง----->มี IQ 35 - 49 สามารถทำงานง่าย ๆ ได้ที่ไม่ละเอียดมาก  เรียกเด็กลุ่มนี้ว่า T.M.R คือสามารถฝึกได้
     -ปัญญาอ่อนน้อย----->มี IQ 50 - 70  สามารถเข้าโรงรียนได้ เรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า E.M.R
    (3) ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
      -ไม่พูด                                                          -ความสนใจสั้ัน
      -ความคิดและอารมณ์เปลี่ยนง่าย              -ทำงานช้า
      -รุนแรง                                                          -อวัยวะบางส่สนผิดปกติ
     2.2.2 เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ( Children With Hearing Impaired ) คือ เด็กที่มีความบกพร่องหรือสุญเสียการได้ยินเป็นสาเหตุให้รับฟังเสียงต่าง ๆ มีปัญหา แบ่งได้ 2 กลุ่ม
     (1) เด็กหูตึง------>สามารถรับฟังเสียงโดยใช้เครื่องช่วยฟัง  จำแนกได้ 4 กลุ่ม
        -หูตึงระดับน้อย----->ได้ยินเสียงระหว่าง 26 - 40 dB จะไม่ได้ยินเสียงเบามาก เช่น เสียงกระชิบ
        -หูตึงระดับปานกลาง------>สามารถได้ยินเสียงระหว่าง 41 - 55 dB  หากยืนอยู่ในระยะ 3- 5 ฟุตจะไม่ได้ยินเสียง  ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้พูดไม่ชัด  ออกเสียงเพี้ยน
        -หูตึงระดับมาก------->สามารถได้ยินเสียงระหว่าง 56 - 70 dB มีปัญหาในการฟัง  ต้องเป็นเสียงระดับเครื่องตัดหญ้าถึงจะได้ยิน
        -หูตึงระดับรุ่นแรง------>สามารถได้ยินในระดับ  71 - 90 dB ต้องเสียงดังมาก ๆ เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง  เด็กมักพูดไมชัด
     (2) เด็กหูหนวก------->สูญเสียการได้ยิน ต้องมีความดัง 91 dB ขึ้นไป
     (3) ลักษณะการบกพร่องทางการได้ยิน
         -ไม่ตอบสนองการพูด                          -มักแสดงท่าทาง
         -พูดไม่ถูกไวนากรณ์                           -พูดด้วยน้ำเสียงแปลก
         -เสียงต่ำ เสียงสูงเกินความจำเป็น     -มักทำหน้าเด๋อ
     2.2.3 เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น (Children With Visual Impairment )  คือ 
              -มองไม่เห็น  หรือ เรือนราง
              -มองเห็นได้ 1 ใน 10 ของคนสายตาปกติ
              -มีลานสายตากว้าง 30 องศา
จำแนกได้  2  ประเภท  ดังนี้
     (1) เด็กตาบอด  
         -มองไม่เห็นเลยหรืออาจเห็นบางเพียงเล็กน้อย
        -อาจมองเห็นในระยะ 6/60 , 20/200    หรือเพียง 1 ใน 10 ของคนสายตาปกติ
        -มีลานสายตากว้าง  5 องศา
     (2) เด็กตาบอดไม่สนิท
        -บอพร่องทางสายตา
        -มองเห็นบาง
        -ทดสอบสายตาข้างที่ดีได้  6/18 , 20/60 , 6/60 , 20/200
        -มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
     (3) ลักษณะความบกพร่อง
        -เดินงุ่มงาม  เดินสะดุด                            -มองสีผิดปกติ
        -บ่นปวดศีรษะ  คลื่นไส้  ตายลาย           -ก้มศีรษะใกล้เวลาทำงาน
        -ปิดตาข้างมองไม่เห็นแล้วใช้ข้างที่ดีมอง
        -มีความลำบากในการจำ    

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนวันที่ 7 พฤษจิกายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
     วันนี้เป็นการเรียนการวันแรกของรายวิชา  อาจารย์เบียร์ให้ทำ  mind mapping  เกี่ยวกับเด็กพิเศษ  ซึ่งอาจารย์มีข้อตกลงว่าห้ามเปิดอินเคอร์เน็ตหาข้อมูลให้เอาความรู้ที่ตัวเองมีเขียน  mind mapping

การนำไปใช้
     1.จากการที่ได้ทำ  mind mapping  ทำให้เรารู้ว่าพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษมีมากน้อยเพียงใด
     2.อาจารย์จัดการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียน