zwani.com myspace graphic comments

My Profile

รูปภาพของฉัน
Miss Sirinya Jaithong Student ID.5411201691 No.6 early childhood education.

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน วันที่ 14 พฤศจิกายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
     1.ความหมายของเด็กพิเศษ
-ทางการแพทย์จะเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า  "เด็กพิการ"   เด็กที่มีความบกพร่อง  สุญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา  ร่างกายหรืิิอจิตใจ
-ทางการศึกษา  เด็กที่ต้องรับโอกาสในการศึกษาเฉพาะแต่ละบุคคลเพราะอาการของเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
     สรุปความหมายของเด็กพิเศษ
-เด็กที่ไม่สามารถพัฒนาตนเองได้เท่าที่ควรจากการสอนปกติ
-มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางสติปัญญาและอารมณ์
-จำเ็ป็นต้องได้รับการกระตุ้น  ฟื้นฟู  และบำบัด
-จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล
     
     2.ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งออกได้ 2 กลุ่ม  ดังนี้
2.1  กลุ่มที่มีความสามรถพิเศษสูง  ----->  เด็กกลุ่มนีเรียกว่า "ปัญญาเลิศ"  ซึ่งมี  IQ สูงถึง 120
2.2  กลุ่มที่มีความบกพร่อง  -----> กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้มี  10 อย่าง
      2.2.1 เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ( Children With Intellectual Disabilities )   คือ  เด็กที่มีสติปัญญาต่ำ  แบ่งเป็น 2 กลุ่ม  ดังนี้
      (1) เด็กเรียนช้า  
         -สามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติได้
         -มี IQ อยู่ระหว่าง  71 - 90
         -สามารถพัฒนาพัฒนาการได้
         -สาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก คือ สภาวะด้านการเงิน  ครอบครัว  สภาพแวดล้อม  การเสริมสร้างประสบการณ์  วิธีการสอน  ซึ่งคือสาเหตุสำคัญ  และปัจจัยภายใน คือ  พัฒนาการของเด็ก
     (2) เด็กปัญญาอ่อน  คือ เด็กที่มีพัฒนาการหยุะงัก  สติปัญาต่ำ  ความสามารถเรียนรู้น้อย  พัฒนาการล่าช้า  การจำกัดทางด้านทักษะ  ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 4 กลุ่ม  ดังนี้
      -ปัญญาอ่อนหนักมาก -----> มี IQ น้อยกว่า  20  ต้ิองอยู่ในการดูแลของสถานที่ดูและเด็กพิการ
     -ปัญญาอ่อนหนัก------> มี  IQ 20 - 34  สามารถช่วยเหลือตนเองได้ง่าย ๆ
     -ปัญญาอ่อนกลาง----->มี IQ 35 - 49 สามารถทำงานง่าย ๆ ได้ที่ไม่ละเอียดมาก  เรียกเด็กลุ่มนี้ว่า T.M.R คือสามารถฝึกได้
     -ปัญญาอ่อนน้อย----->มี IQ 50 - 70  สามารถเข้าโรงรียนได้ เรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า E.M.R
    (3) ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
      -ไม่พูด                                                          -ความสนใจสั้ัน
      -ความคิดและอารมณ์เปลี่ยนง่าย              -ทำงานช้า
      -รุนแรง                                                          -อวัยวะบางส่สนผิดปกติ
     2.2.2 เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ( Children With Hearing Impaired ) คือ เด็กที่มีความบกพร่องหรือสุญเสียการได้ยินเป็นสาเหตุให้รับฟังเสียงต่าง ๆ มีปัญหา แบ่งได้ 2 กลุ่ม
     (1) เด็กหูตึง------>สามารถรับฟังเสียงโดยใช้เครื่องช่วยฟัง  จำแนกได้ 4 กลุ่ม
        -หูตึงระดับน้อย----->ได้ยินเสียงระหว่าง 26 - 40 dB จะไม่ได้ยินเสียงเบามาก เช่น เสียงกระชิบ
        -หูตึงระดับปานกลาง------>สามารถได้ยินเสียงระหว่าง 41 - 55 dB  หากยืนอยู่ในระยะ 3- 5 ฟุตจะไม่ได้ยินเสียง  ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้พูดไม่ชัด  ออกเสียงเพี้ยน
        -หูตึงระดับมาก------->สามารถได้ยินเสียงระหว่าง 56 - 70 dB มีปัญหาในการฟัง  ต้องเป็นเสียงระดับเครื่องตัดหญ้าถึงจะได้ยิน
        -หูตึงระดับรุ่นแรง------>สามารถได้ยินในระดับ  71 - 90 dB ต้องเสียงดังมาก ๆ เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง  เด็กมักพูดไมชัด
     (2) เด็กหูหนวก------->สูญเสียการได้ยิน ต้องมีความดัง 91 dB ขึ้นไป
     (3) ลักษณะการบกพร่องทางการได้ยิน
         -ไม่ตอบสนองการพูด                          -มักแสดงท่าทาง
         -พูดไม่ถูกไวนากรณ์                           -พูดด้วยน้ำเสียงแปลก
         -เสียงต่ำ เสียงสูงเกินความจำเป็น     -มักทำหน้าเด๋อ
     2.2.3 เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น (Children With Visual Impairment )  คือ 
              -มองไม่เห็น  หรือ เรือนราง
              -มองเห็นได้ 1 ใน 10 ของคนสายตาปกติ
              -มีลานสายตากว้าง 30 องศา
จำแนกได้  2  ประเภท  ดังนี้
     (1) เด็กตาบอด  
         -มองไม่เห็นเลยหรืออาจเห็นบางเพียงเล็กน้อย
        -อาจมองเห็นในระยะ 6/60 , 20/200    หรือเพียง 1 ใน 10 ของคนสายตาปกติ
        -มีลานสายตากว้าง  5 องศา
     (2) เด็กตาบอดไม่สนิท
        -บอพร่องทางสายตา
        -มองเห็นบาง
        -ทดสอบสายตาข้างที่ดีได้  6/18 , 20/60 , 6/60 , 20/200
        -มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
     (3) ลักษณะความบกพร่อง
        -เดินงุ่มงาม  เดินสะดุด                            -มองสีผิดปกติ
        -บ่นปวดศีรษะ  คลื่นไส้  ตายลาย           -ก้มศีรษะใกล้เวลาทำงาน
        -ปิดตาข้างมองไม่เห็นแล้วใช้ข้างที่ดีมอง
        -มีความลำบากในการจำ    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น