zwani.com myspace graphic comments

My Profile

รูปภาพของฉัน
Miss Sirinya Jaithong Student ID.5411201691 No.6 early childhood education.

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนวันที่ 19 ธันวาคม 2556

        วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาคตั้งแต่วันที่  19-27  ธันวาคม 2556

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนวันที่ 12 ธันวาคม 2556

เนื้อหาที่เรียน
     1. พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
       - พัฒนาการ  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะส่วนต่าง ๆ รวมทั้งตัวบุคคล
       - ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     2.  เด็กที่บกพร่องทางพัฒนาการ
       - หยุดอยู่กับที่
       - ถดถอยลง
       - เด็กที่ีมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกันอาจช้าด้านเดียวหรือหลายด้าน
       - ถ้าด้านเดียวจะส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่นด้วย  เช่น  สติปัญญาไม่ดีก็พูดไม่ได้
      3.  ปัจจัยที่ส่งผลทำให้พัฒนาการล่าช้า
       - ด้านชีวภาพ -----> เช่น  ยีน  โครโมโซม
       - สภาพแวดล้อมก่อนคลอด -------->  ขึ้นอยู๋กับการดูแลของแม่
       - กระบวนการคลอด
       - สภาพแวดล้อมหลังคลอด---------->  การดูแลเด็ก
      4.  สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
       ( 4.1 ) โรคทางพันธุกรรม  คือ  เป็นตั้งแต่เกิด  มักมีความผิดปกติร่วมด้วย  เช่น  โรคผิวเผือก  โรคเท้าแสนปม  
        ( 4.2 )  โรคของระบบประสาท  อาการที่พบบ่อย คือ  การชัก
        ( 4.3 )  การติดเชื้อ  มีการติดเชื้อในครรภฺ์  น้ำหนักแรกเกิดน้อย  ศีรษะเล็ก  ตับโต  ม้ามโต  หูหนวก  ต้อกระจก  หลังติดเชื้อทำให้เด็กสมองอักเสบ
        ( 4.4 )  ความผิดปกติเกี่ยวกับเมทาบอลิซึม  เช่น  ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
        ( 4.5 )  ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด  ที่อันตรายมาก  คือ  ภาวะการขาดออกซิเจนในระหว่างคลอด  เช่น รกผันคอเด็ก
        ( 4.6 )  สารเคมี  
               -สารตะกั่ว ส่งผลให้เด็กมีอาการซึมเศร้า  ผิวคล้ำ  ตับเป็นพิษ  
               -แอลกฮอล์ ส่งผลให้เด็กน้ำหนักน้อยมาก  ศีรษะเล็ก  ปัญญาบกพร่อง  บกพร่องทางอารมณ์  เรียกว่า  Fetal Alcohol Syndrom (FAS) ไม่มีริมฝีปาก  หนังคลุมตาตามาก  จมูกแบน
               -นิโคติน  เด็กน้ำหนักน้อยมากเพราะขาดสารอาหาร  เวลาสูบบุหรี่หลอดเลือดจะตีบทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไปเต็มที่  ทำให้สติปัญญาอ่อน  เพิ่มอัตราการตาย  สมาธิสั้ัน  ก้าวร้าว  มีปัญหาในการเข้าสังคม
          ( 4.7 )  การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมทำให้ขาดสารอาหาร
          5.  อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
               - พัฒนาการล่าช้าพบมากว่า 1 ด้าน
               - ปฏิกิริยาย้อนกลับ  ไม่หายแม้ถึงช่วงอายุควรจะหายก็ไม่หาย  เช่น แย้นิ้วแล้วเด็กยังกำอยู่
          6.  แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
            ( 6.1 )  การซักประวัติ  เช่น  โรคางพนธุกรรม  ประวัติการคลอด  การเจ็บป่วยของคนในครอบครัว   เมื่อซักประวัติเสร็จแล้วบอกได้ว่า
                       - ลักษณะพัฒนาการคงที่  /  ถดถอย
                       - พัฒนาการล่าช้าด้านไหน  ระดับไหน
                       - สาเหตุที่เดกพัฒนาการช้าเกิดจากอะไร
                       - บ่งชี้มาจากยีนหรือไม่
                       - ได้รับการฟื้นฟูและช่วยเหลืออย่างไร
              ( 6.2 )  ตรวจร่างกาย  เช่น  ตับโต  ม้ามโต  รอบศีรษะ  ระบบประสาท  การมองเห็น การฟัง  ดูแลลักษณะเด็กที่ถูกทารุณ
               ( 6.3 )  การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ  การสแกนสมอง
               ( 6.4 )  ประเมินพัฒนาการ  
                       - ไม่เป็นทางการ  เช่น  สอบถามพ่อแม่
                       - การประเมินในเวชปฏิบัติ  เช่น  แบบทดสอบ  Denver  II , Gesell Drawing , แบบประเมินของสถาบันราชานูกูล 

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนวันที่ 5 ธันวาคม 2556

              เนื่องจากวันนี้เป็นวันพ่อแห่งชาติ  จึงงดการเรียนการสอน

On this great event I pray for my Father
That my God bless my father keep healthy and
Because father is box of happiness for me today tomorrow and forever.
Happy fathers day.

ในโอกาสที่ยิ่งใหญ่นี้ ลูกอธิษฐานขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองพ่อ
ให้มีสุขภาพแข็งแรง พ่อจะเป็นกล่องความสุขของลูก
ทั้งวันนี้ พรุ่งนี้ และตลอดไป
สุขสันต์วันพ่อค่ะ

วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนวันที่ 28 พฤศจิกายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
     2.2.6  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์  ( Children With Behaviorally And Emotional Disorders )  หมายถึง  เด็กที่มีกล้มเนื้อบอพร่องด้วย  ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ปกตินาน ๆ ไม่ได้  ทำตามกฏเกณฑ์ไม่ได้เลย  อารมณ์รุนแรง  ก้าวร้าว  แบ่งได้ 2 ประเภท
        - เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์  ทำให้เด็กก้าวร้าวมาก
        - เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้  ทำให้เกิดความวิตกังวล  หนีสังคม  ก้าวร้าว  
     ( 1 )  การจัดเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงองค์ระกอบ ดังนี้
        - สภาพแวดล้อม
        - ความคิดเห็นของเด็กแต่ละคน
     ( 2 )  ผลกระทบ
        - ไม่สามารถเรียนกับเด็กปกติ
        - มักอยู่คนเดียว
        - เก็บกดเข้ากับคนอื่นไม่ได้  
        - บ่นปวดตามร่างกาย
        - มีความหวาดกลัว
      ( 3 )  เด็กที่บกร่องทางพฤติกรรมรุนแรงมาก
        - เด็กสมาธิสั้ัน  ( Children  with  Attention Deficit and Hyperactivity Disorders ) 
        - เด็กออทิสติก  ( Autistic )
      ( 4 )  ลักษณะเด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรม
        - ฉี่ราด                             -เรียกร้องความสนใจ
        -ติดขวดนม/ของใช้        -อ่อนไหว
        -ดูดนิ้ว/กัดเล็บ                -อิจฉา ก้าวร้าว
        -หนีสังคม                        -ฝันกลางวัน
        -พูดเพ้อเจ้อ
     2.2.7  เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้  ( Children With Learning Disorders )  คือ เด็กที่มีเชาว์ปัญญาปกติหรือเรียกอีกอย่างว่า เด็ก L.D มักมีปัญหาในการเรียนรู้บางอย่าง  เช่น การพูด การอ่าน การเขียน  การฟัง การสะกดคำ การคำนวณ ไม่รวมเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย  เด็กพิการ
      ( 1 ) ลักษณะอาการ
         -มีปัญหาทักษะคณิตศาสตร์
         -ปฏิบัติตวามคำสั่งไม่ได้
         -เรียงลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
         -ซุ่มซ่าม 
         -เอาแต่ใจตัวเอง
     2.2.8  เด็กออสติก  ( Autistic )  หมายถึง  เด็กที่ำมีพัฒนาการล่าช้าเริ่มแรกเกิด -3 ขวบ  บกพร่องพฤติกรรมด้วย
        -เด็กที่บกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อสาร
        -เด็กแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
       -มีความบกพร่องางสิตปัญญานิด ๆ แต่มีเชาว์ปัญญาปกติ
       -มีความอัจริยะ
       -มีทักษะทางสัังคมน้อย
       -มีทักษะทางภาษาน้อย
      -ทักษะทางการเคลื่อนไหวและทักษะเกี่ยวกับรูปทรงมีค่อนข้างน้อย
     ( 1 ) ลักษณะอาการ
      -อยู่กับตัวเอง                                                     -ไม่ยอมพูด
     -ไม่เข้าหาคนอื่นเพื่อให้ปลอบ                          -ยึดติดกับวัตถุ
     -ไม่เล่นกับกลุ่มเพื่อน                                        -เหมือนหูหนวก เรยกแล้วไม่หัน
     -ต่อต้าน  แสดงอารมณ์อย่างไร้เหตุผล           -จองอะไรนาน ๆ
     2.2.9  เด็กพิการซ้ำซ้อน  ( Children  With  Multiple Handicaps )  หมายถึง  เด็กที่มีความบกพร่องมากกว่า 1 อย่าง  เป็นเหตุให้มีปัญหาในการเรียนรู้  เช่น  ปญญาอ่อนร่วมหูหนวก  หูหนวกร่วมตาบอด

งานที่ได้รับมอบหมาย
     อาจารย์ให้ดูวิดีโอ  แล้วสรุปเป็นองค์ความรู้

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
     2.2.4  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ ( Children With Physical And Hearth Impairment )  หมายถึง  เด็กที่อวัยวะไม่สมส่วน  หรือ  หายไป  มีปัญหาระบบประสาททำให้เคลื่อนไหวลำบาก   แบ่งได้ 2 ประเภท  ดังนี้
     ( 1 )  บกพร่ิองทางร่างกาย  
      1.1  เด็ก  C.P   คือ  เด็กที่บกพร่องที่สมอง  เกิดจากสมองอัตพาตเดิกในช่วงที่อยู่ในครรภ์  การเคลื่อนไหวช้า  การพูดช้า
      1.2 อาการ
        - อัมพาตเกร็งของขา
        - อัมพาตการเคลื่อนไหว
        - อัมพาตการทรงตัว
        - อัมพาตการแข็งตัว
        - อัมาตแบบผสม
      1.2  กล้ามเนื้ออ่อนแรง  เกิดจากสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อเสื่อมสลายทำให้กล้ามเนื้อส่วนนั้ันลีบ  อาจมีความพิการซ้ำซ้อน  ความจำแย่ลง
      1.3  โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ  เกิดจากการติดเชื้อ  เช่น  เท้าปุก  และ  Spina  Bifida
      1.4  โปริโอ  คือ  อาการกล้ามเนื้อลีบส่วนมากเกิดที่ขาไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา  เกิดจากเชื้อไวรัส  น้ำไม่สะอาด
      1.5  แขน  ขา  ด้วนแต่กำเนิด  
      1.6  โรคกระดูกอ่อน
     ( 2 )  บกพร่องทางสุขภาพ  เป็นลักษณะอาการที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง  มีดังนี้
      2.1  ลมบ้าหมู  ชักเสร็จจะหมดสติและหมดความรู้สึก  ควรให้เด็กกัดผ้า
      2.2  ชักสั้น ๆ  ระยะในการชักประมาณ  5 -10  วินาที
      2.3  ชักแบบรุนแรง  กล้ามเนื้อเก็รง 2 - 5 นาที  เมื่อหยุุดชักจะหมดสติ
      2.4  ชักแบบไม่รู้ตัว  เช่น  การร้องเพลง  ดึงเสื้อผ้า  เดินเมอ
      2.5  ชักแบบ  Partial Complex  คือ การเดินไปชักไป  กัดริมฝีปาก  ถูตามแขนขา
      2.5  โรคทางระบบทางเดินอาหาร
     ( 3 )  ลักษณะอาการ
      - มีปัญหาในการทรงตัว                 - ท่าเดินคล้ายกรรไกร
      - ไอเสียงแห้ง                                - มักเจ็บหน้าอก  บ่นปวดหัว
      - หน้าแดงง่าย                               - กระหายน้ำ
     2.2.5  เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด  ( Children With Speak And Language Disorder )  หมายถึงเด็กที่พูดไม่ชัด  ออกเสียงเพี้ยน  หารใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นดั่งตั้งใจ  มีท่าทางผิดปกติขณะพูด
      ( 1 )  ประเภทของอาการ
      1.1  ความผิดปกติด้านการออกเสียง
      1.2  ความผิดปกติด้านจังหวะ  เช่น  พูดรัว  พูดติดอ่าง
      1.3  ความผิดปกติด้านเสียง  เช่น  ระดับเสียง  คุณภาพของเสียง
      1.4  ความผิดปกติทางการพูดเพราะพยาธิที่สมอง  Aphasia
          - Motor  Aphasia  คือ  อาการสั่งได้  เข้าใจ  แต่พูดกลับไม่ได้
          - Wernick 's Aphasia  คือ  ไม่เข้าใจคำถาม  ออกเสียงติดขัด  มักใช้คำพูดผิด ๆ
          - Conduction  คือ  ออกเสียงติดขัด  บอกชื่อสิ่งของไม่ได้  มักเกิดร่วมกับอัมพาตสมองซีกขวา
          - Nominal  คือ  เข้าใจ  พูดตามได้แต่บอกชื่อสิ่งของไม่ได้  มักเกิดร่วมกับ  Gerstman 's Syndrom
          - Global  คือ ไม่เข้าใจภาษาที่พูด  เช่น  พูดไม่ได้เลย
          - Sensory  คือ เขียนเองไม่ได้  บอกชื่อสิ่งของไม่ได้แต่เขียนตามแบบได้
          - Motor  คือ  ลอก  เขียน  ไม่ได้เลย  เชียนตามคำบอกไม่ได้
          - Cortical  คือ  อ่านไม่ออกเพราะไม่เข้าใจภาษา
          - Motor Alexia  คือ  เห็นตัวหนังสือ  เข้าใจแต่อ่านไ่ม่ได้
          - Gerstman's  Syndrom  ไม่รู้ชื่อนิ้ว  ไม่รู้จักซ้ายขวา  คำนวณไม่ได้  เขียน อ่าน ไม่ได้
          -Visual Agnosia  คือ  เห็นวัตถุแต่บอกไม่ได้ว่าคืออะไร
          - Auditory  Agnosia  คือ  ไม่บอพร่องการได้ยินแต่ไม่สามารถแปลความหมายได้  ได้ยินแต่ไม่เข้าใจ
      ( 2 ) ลักษณะอาการ
      - ทารกจะร้องไห้เบา ๆ                    - ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
      - ไม่อ้อแอ้ภายใน 10 เดือน            - หลัง 5 ขวบ  ใช้ประโยคไม่สมบูร์
      - ไม่พูดภายใน 2 เืดือน                   - พูดกระตุกกระตัก
      - หลัง 3 ขวบ  ภาษาพูดเข้าใจยาก -  ใช้ภาษาท่าทางสื่อความหมาย

งานที่ได้รับมอบหมาย
     อาจารย์ให้ดูวีดิโอ  แล้วสรุปสิ่งที่ได้จากวีดิโอ
      

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน วันที่ 14 พฤศจิกายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
     1.ความหมายของเด็กพิเศษ
-ทางการแพทย์จะเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า  "เด็กพิการ"   เด็กที่มีความบกพร่อง  สุญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา  ร่างกายหรืิิอจิตใจ
-ทางการศึกษา  เด็กที่ต้องรับโอกาสในการศึกษาเฉพาะแต่ละบุคคลเพราะอาการของเด็กแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
     สรุปความหมายของเด็กพิเศษ
-เด็กที่ไม่สามารถพัฒนาตนเองได้เท่าที่ควรจากการสอนปกติ
-มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางสติปัญญาและอารมณ์
-จำเ็ป็นต้องได้รับการกระตุ้น  ฟื้นฟู  และบำบัด
-จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล
     
     2.ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งออกได้ 2 กลุ่ม  ดังนี้
2.1  กลุ่มที่มีความสามรถพิเศษสูง  ----->  เด็กกลุ่มนีเรียกว่า "ปัญญาเลิศ"  ซึ่งมี  IQ สูงถึง 120
2.2  กลุ่มที่มีความบกพร่อง  -----> กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้มี  10 อย่าง
      2.2.1 เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ( Children With Intellectual Disabilities )   คือ  เด็กที่มีสติปัญญาต่ำ  แบ่งเป็น 2 กลุ่ม  ดังนี้
      (1) เด็กเรียนช้า  
         -สามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติได้
         -มี IQ อยู่ระหว่าง  71 - 90
         -สามารถพัฒนาพัฒนาการได้
         -สาเหตุมาจากปัจจัยภายนอก คือ สภาวะด้านการเงิน  ครอบครัว  สภาพแวดล้อม  การเสริมสร้างประสบการณ์  วิธีการสอน  ซึ่งคือสาเหตุสำคัญ  และปัจจัยภายใน คือ  พัฒนาการของเด็ก
     (2) เด็กปัญญาอ่อน  คือ เด็กที่มีพัฒนาการหยุะงัก  สติปัญาต่ำ  ความสามารถเรียนรู้น้อย  พัฒนาการล่าช้า  การจำกัดทางด้านทักษะ  ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 4 กลุ่ม  ดังนี้
      -ปัญญาอ่อนหนักมาก -----> มี IQ น้อยกว่า  20  ต้ิองอยู่ในการดูแลของสถานที่ดูและเด็กพิการ
     -ปัญญาอ่อนหนัก------> มี  IQ 20 - 34  สามารถช่วยเหลือตนเองได้ง่าย ๆ
     -ปัญญาอ่อนกลาง----->มี IQ 35 - 49 สามารถทำงานง่าย ๆ ได้ที่ไม่ละเอียดมาก  เรียกเด็กลุ่มนี้ว่า T.M.R คือสามารถฝึกได้
     -ปัญญาอ่อนน้อย----->มี IQ 50 - 70  สามารถเข้าโรงรียนได้ เรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า E.M.R
    (3) ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
      -ไม่พูด                                                          -ความสนใจสั้ัน
      -ความคิดและอารมณ์เปลี่ยนง่าย              -ทำงานช้า
      -รุนแรง                                                          -อวัยวะบางส่สนผิดปกติ
     2.2.2 เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ( Children With Hearing Impaired ) คือ เด็กที่มีความบกพร่องหรือสุญเสียการได้ยินเป็นสาเหตุให้รับฟังเสียงต่าง ๆ มีปัญหา แบ่งได้ 2 กลุ่ม
     (1) เด็กหูตึง------>สามารถรับฟังเสียงโดยใช้เครื่องช่วยฟัง  จำแนกได้ 4 กลุ่ม
        -หูตึงระดับน้อย----->ได้ยินเสียงระหว่าง 26 - 40 dB จะไม่ได้ยินเสียงเบามาก เช่น เสียงกระชิบ
        -หูตึงระดับปานกลาง------>สามารถได้ยินเสียงระหว่าง 41 - 55 dB  หากยืนอยู่ในระยะ 3- 5 ฟุตจะไม่ได้ยินเสียง  ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้พูดไม่ชัด  ออกเสียงเพี้ยน
        -หูตึงระดับมาก------->สามารถได้ยินเสียงระหว่าง 56 - 70 dB มีปัญหาในการฟัง  ต้องเป็นเสียงระดับเครื่องตัดหญ้าถึงจะได้ยิน
        -หูตึงระดับรุ่นแรง------>สามารถได้ยินในระดับ  71 - 90 dB ต้องเสียงดังมาก ๆ เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง  เด็กมักพูดไมชัด
     (2) เด็กหูหนวก------->สูญเสียการได้ยิน ต้องมีความดัง 91 dB ขึ้นไป
     (3) ลักษณะการบกพร่องทางการได้ยิน
         -ไม่ตอบสนองการพูด                          -มักแสดงท่าทาง
         -พูดไม่ถูกไวนากรณ์                           -พูดด้วยน้ำเสียงแปลก
         -เสียงต่ำ เสียงสูงเกินความจำเป็น     -มักทำหน้าเด๋อ
     2.2.3 เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น (Children With Visual Impairment )  คือ 
              -มองไม่เห็น  หรือ เรือนราง
              -มองเห็นได้ 1 ใน 10 ของคนสายตาปกติ
              -มีลานสายตากว้าง 30 องศา
จำแนกได้  2  ประเภท  ดังนี้
     (1) เด็กตาบอด  
         -มองไม่เห็นเลยหรืออาจเห็นบางเพียงเล็กน้อย
        -อาจมองเห็นในระยะ 6/60 , 20/200    หรือเพียง 1 ใน 10 ของคนสายตาปกติ
        -มีลานสายตากว้าง  5 องศา
     (2) เด็กตาบอดไม่สนิท
        -บอพร่องทางสายตา
        -มองเห็นบาง
        -ทดสอบสายตาข้างที่ดีได้  6/18 , 20/60 , 6/60 , 20/200
        -มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
     (3) ลักษณะความบกพร่อง
        -เดินงุ่มงาม  เดินสะดุด                            -มองสีผิดปกติ
        -บ่นปวดศีรษะ  คลื่นไส้  ตายลาย           -ก้มศีรษะใกล้เวลาทำงาน
        -ปิดตาข้างมองไม่เห็นแล้วใช้ข้างที่ดีมอง
        -มีความลำบากในการจำ    

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนวันที่ 7 พฤษจิกายน 2556

เนื้อหาที่เรียน
     วันนี้เป็นการเรียนการวันแรกของรายวิชา  อาจารย์เบียร์ให้ทำ  mind mapping  เกี่ยวกับเด็กพิเศษ  ซึ่งอาจารย์มีข้อตกลงว่าห้ามเปิดอินเคอร์เน็ตหาข้อมูลให้เอาความรู้ที่ตัวเองมีเขียน  mind mapping

การนำไปใช้
     1.จากการที่ได้ทำ  mind mapping  ทำให้เรารู้ว่าพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเด็กพิเศษมีมากน้อยเพียงใด
     2.อาจารย์จัดการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียน